COP26 คืออะไร ?

30 ส.ค., 2022 | บอกเล่าเรื่องพลังงาน

COP ย่อมาจาก Conference of the Parties เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในช่วง 26 ปีที่ผ่านมา (แต่เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 การประชุมในปีที่แล้วจึงถูกเลื่อนไป) และถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยนำปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่ระดับโลก

การประชุม Conference of the Parties ครั้งที่ 26 หรือ COP26 จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ การประชุมจะจัดขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 12 พฤศจิกายน โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมดราว 30,000 คน ประกอบด้วย ผู้นำระดับโลก ผู้แทนองค์กรผู้สังเกตการณ์ และนักข่าว

🌏 ประเด็นการเจรจาที่สำคัญในการประชุม COP26
– การกำหนดกลไกความร่วมมือสำหรับการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ
– การกำหนดกรอบระยะเวลา (Timeframe) มีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC)
– การกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุน
– การกำหนดรูปแบบการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก (GHG Inventory)
– การรายงานความก้าวหน้าด้านการดำเนินงานของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด

🌏 บทบาทประเทศไทยในเวที COP26
ในห้วงการประชุม COP26 เพื่อแสดงเจตจำนงของประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประชาคมโลกตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Long-term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategies : LT-LEDS) ของประเทศไทย รวมถึงประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรก ๆ ของโลกที่สามารถดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกรอบมาตรการในการดำเนินงานที่ชัดเจน

🌏 ABM มีส่วน “ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ” อย่างไร ?

จากปัญหาหมอกควัน กรมควบคุมมลพิษรายงานว่าฝุ่นละออก PM 2.5 มีแหล่งที่มาจากปัญหาการเผาชีวมวลในพื้นที่เกษตรคิดเป็น 35% จากมลพิษทั้งหมด ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ 4 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์(CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2) ก๊าซโอโซน(O3) และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพื้นที่ชุมชน สิ่งแวดล้อม และ เศษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

บริษัท เอเชีย ไบโอแมส จำกัด (มหาชน) หรือ ABM ได้ตระหนักถึงการใช้พลังงานเชื้อเพลิงชีวมวลที่ได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ในการเกษตรและอุตสาหกรรม จึงได้ดำเนินธุรกิจรวบรวมและจัดจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass Fuel) หลากหลายประเภท เป็นการลดปัญหาการเผาชีวมวลในพื้นที่เกษตร และ สามารถใช้ทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ น้ำมันเตา ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร รวมทั้งเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เพราะมีการหมุนเวียนเชื้อเพลิงชีวมวลอย่างเป็นระบบ ส่งผลต่อการประหยัดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจที่ต้องการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล

เครดิต : thaipublica.org, greennetworkthailand.com

🌍 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการใช้พลังงานสีเขียว เพื่อโลกที่น่าอยู่ของเรา 😊