เป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลปาล์ม โดยจะอยู่ระหว่างเส้นใยปาล์มติดเปลือกด้านนอกสุดกับเนื้อปาล์มที่อยู่ด้านในสุด ลักษณะทั่วไปมีสีน้ำตาล เนื้อแข็ง ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์มเมื่อเกิดกระบวนการสกัดเอาน้ำมันปาล์มออกเหลือกะลาปาล์ม ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) ให้ค่าความร้อนสูง ปัจจุบันเชื้อเพลิงชีวมวลนิยมใช้ทดแทนเชื้อเพลิงที่มาจากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน เพื่อลดการเกิดสภาวะโลกร้อน กะลาปาล์มส่วนหนึ่งมาจากการเกษตรที่ปลูกสวนปาล์มในพื้นที่ภาคกลาง เช่น จ.ระยอง จ.ฉะเชิงเทรา จ.จันทบุรี จ.ตราด พื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด และ พื้นที่อื่นๆ รวมไปถึงบางส่วนต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น อินโดนิเซีย มาเลเซีย
ค่าความร้อน (Net Calorific Value) 3,800 – 4,200 kcal/kg
ขี้เถ้า (Ash) น้อยกว่า 4% โดยน้ำหนัก
ความชื้น (Total Moisture) ; (AR) 16% – 25% โดยน้ำหนัก
จัดการอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างรายได้ จากปัญหาหมอกควัน กรมควบคุมมลพิษรายงานว่าฝุ่นละออก PM 2.5 มีแหล่งที่มาจากปัญหาการเผาชีวมวลในพื้นที่เกษตรคิดเป็น 35% จากมลพิษทั้งหมด ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ 4 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์(CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2) ก๊าซโอโซน(O3) และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพื้นที่ชุมชน สิ่งแวดล้อม และ เศษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัญหาการเผาชีวมวลในพื้นที่เกษตร จึงจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกวิธี โดยการนำชีวมวลเหล่านั้น แปรรูปพลังงานในรูปแบบ “เชื้อเพลงชีวมวล” ซึ่งจะเป็นแนวทางให้กับเกษตรกร เห็นถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากชีวมวลที่เป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
🌍 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการใช้พลังงานสีเขียว เพื่อโลกที่น่าอยู่ของเรา 😊