
BIOMASS พลังงานทดแทนแห่งอนาคต

BIOMASS พลังงานทดแทนแห่งอนาคต
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 70 (The 70th session of the United Nations General Assembly) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDGs) จากนั้นประเทศไทย จึงได้จัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (“AEDP2015”) และกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนของประเทศ ทั้งในรูปของพลังงานไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ ให้อยู่ที่ร้อยละ 30.0 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี 2579 เพิ่มขึ้นจากในปี 2558 ที่อยู่ที่ร้อยละ 12.9 เท่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพลังงานทดแทนจากชีวมวล (Biomass)
ชีวมวล (Biomass) คือ สิ่งได้จากสิ่งมีชีวิตหรือสารอินทรีย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ เช่น ผลผลิตรองจากกระบวนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และผลผลิตส่วนเหลือหลังการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรและป่าไม้ เป็นต้น ชีวมวลที่ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง (“เชื้อเพลิงชีวมวล”) จะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อน หรือพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้า โดยกระบวนการเปลี่ยนชีวมวลเป็นพลังงานขึ้นกับเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากชีวมวลที่ผู้ใช้เลือก ซึ่งประเทศไทยมีแหล่งชีวมวลที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย ดังนี้
![]() |
1. เชื้อเพลิงชีวมวลจากต้น ปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน เช่น
|
![]() |
2. เชื้อเพลิงชีวมวลจาก ไม้ยางพารา เป็นผลผลิตจากการปลูกสวนยางพาราของเกษตรกร มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศกว่า 20 ล้านไร่ ซึ่งสามารถนำไม้ยางพารามาใช้ เป็นเชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
|
![]() |
พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลถือเป็นพลังงานทดแทนที่สะอาด ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล (Fossil-Energy) ซึ่งลดการปลดปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อน ตอบสนองการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรม และการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์ |